โรงไฟฟ้ากังหันลมผลิตไฟฟ้าลำตะคองชลวัฒนา ชุดที่ 2

ตั้งอยู่บริเวณสันเขาบ้านเขายายเที่ยงเหนือ ตำบลคลองไผ่ อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา และพื้นที่ป่าบริเวณตำบลหนองสาหร่าย อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา กฟผ. ได้ดำเนินการติดตั้งกังหันลมผลิตไฟฟ้าจำนวน 12 ชุด กำลังผลิตรวมทั้งหมด 24,000 กิโลวัตต์ เชื่อมโยงกับระบบสายส่ง 115 กิโลโวลท์ของ กฟผ.
ชนิดของกังหัน เป็นแบบแกนนอน ปรับใบพัดได้ และใช้กันโดยทั่วไปในประเทศแถบยุโรป และอเมริกา สามารถปรับองศาของใบพัดเพื่อสามารถกินลมได้ในระดับความเร็ว ลมต่ำ และสามารถลู่ลมได้ในระดับความเร็วลมสูงโดยมีระบบเบรกอัตโนมัติ อายุการใช้งานไม่ต่ำกว่า 25 ปี ความสูงของหอกังหันลม 80 เมตร

โรงไฟฟ้าท้ายเขื่อนเจ้าพระยา

ลักษณะเขื่อน

อาคารโรงไฟฟ้า

ประเภทโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก
ความยาว40.5 เมตร
ความกว้าง24 เมตร
สูงจากพื้นดิน37.4 เมตร

เครื่องกำเนิดไฟฟ้า

กำลังผลิตไฟฟ้าต่อเครื่อง6 เมกะวัตต์
จำนวน2 เครื่อง
ระบบส่งไฟฟ้า22 กิโลโวลต์
พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยรายปี61.75 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง

โรงไฟฟ้าท้ายเขื่อนแควน้อยบำรุง

ลักษณะเขื่อน

อาคารโรงไฟฟ้า

ประเภทโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก
ความยาว30.5 เมตร
ความกว้าง33.4 เมตร
ความสูง14.2 เมตร

เครื่องกำเนิดไฟฟ้า

กำลังผลิตติดตั้ง30 เมกะวัตต์
กำลังผลิตติดตั้งต่อเครื่อง15 เมกะวัตต์
จำนวน2 เครื่อง
ระบบส่งไฟฟ้า22 กิโลโวลต์
พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยรายปี146.6 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง

โรงไฟฟ้าท้ายเขื่อนนเรศวร

ลักษณะเขื่อน

อาคารโรงไฟฟ้า

ประเภทโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก
ความยาว38 เมตร
ความกว้าง19 เมตร
สูงจากพื้นดิน31 เมตร

เครื่องกำเนิดไฟฟ้า

กำลังผลิตติดตั้งต่อเครื่อง8 เมกะวัตต์
จำนวน1 เครื่อง
ระบบส่งไฟฟ้า22 กิโลโวลต์
พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยรายปี43.03 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง

โรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนภูมิพล

“เขื่อนภูมิพล” เป็นเขื่อนอเนกประสงค์แห่งแรกของประเทศไทย และเป็นเขื่อนแรกในประวัติศาสตร์ไทยอันเป็นจุดกำเนิดของการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบและยั่งยืน โดยถือกำเนิดขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐบาลในขณะนั้นมีแนวคิดที่จะสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ โดยเฉพาะโรงไฟฟ้าพลังน้ำ ซึ่งสามารถนำไฟฟ้าเข้าสู่ระบบได้อย่างรวดเร็ว จึงมีการจัดตั้ง “คณะกรรมการพิจารณาสร้างโรงไฟฟ้าทั่วราชอาณาจักร” เพื่อสำรวจพื้นที่สร้างโรงไฟฟ้าทั่วประเทศ  ซึ่งพบว่าในลำน้ำปิง บริเวณหุบเขาย่านรีหรือยันฮี อ.สามเงา จ.ตาก มีความเหมาะสมต่อการสร้างเขื่อนเป็นอย่างยิ่ง จึงนำมาสู่การสำรวจ “เขื่อนยันฮี” ในปี พ.ศ. 2496 และเริ่มสร้างในปี พ.ศ. 2500 – 2507 และในปีเดียวกันนี้เอง ก็มีการตั้ง “การไฟฟ้ายันฮี” (กฟย.) เพื่อรับผิดชอบการสร้างเขื่อน และผลิตไฟฟ้าให้กับภาคกลางและภาคเหนือ

จากการติดตั้งระบบสูบกลับในเครื่องที่ 8 ของเขื่อนภูมิพล ส่งผลให้ต้องสร้างเขื่อนแม่ปิงตอนล่าง ซึ่งเป็นเขื่อนขนาดเล็ก สร้างปิดกั้นลำน้ำปิง อยู่ห่างจากเขื่อนภูมิพลลงมาทางท้ายน้ำ 5 …

กฟผ. – อายิโนะโมะโต๊ะ สนับสนุนการใช้ไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนตอบสนองนโยบายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของไทย สู่เป้าหมาย Carbon Neutrality

   กฟผ. และ บริษัท อายิโนะโมะโต๊ะ (ประเทศไทย) จำกัด เดินหน้าจัดเต็มส่งเสริมตลาดธุรกิจพลังงานสีเขียวผ่านการใช้พลังงานหมุนเวียน ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศ มุ่งสู่ Carbon Neutrality

วันนี้ (19 เมษายน 2565) นายประเสริฐศักดิ์ เชิงชวโน รองผู้ว่าการพัฒนาโรงไฟฟ้าและพลังงานหมุนเวียน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นผู้แทน กฟผ. ลงนามสนับสนุนการใช้และเข้าถึงพลังงานหมุนเวียนด้วยการส่งมอบใบรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Certificate: REC) ให้กับ Mr.Ichiro Sakakura กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท อายิโนะโมะโต๊ะ (ประเทศไทย) จำกัด หลังจากมีการตกลงสนับสนุน REC จำนวน 160,000 …

กฟผ.–ซีเกท ประเทศไทย ร่วมลงนามซื้อขายใบรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียน (REC) หนุนการลดก๊าซเรือนกระจกของไทย สู่เป้าหมาย Carbon Neutrality

กฟผ. และ ซีเกท ประเทศไทย จับมือร่วมลงนามสัญญาซื้อขายใบรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Certificate) ปริมาณซื้อขายสูงที่สุดในประเทศไทย หวังกระตุ้นการใช้พลังงานหมุนเวียน ส่งเสริมธุรกิจพลังงานสีเขียว ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศ มุ่งสู่ Carbon Neutrality

นายประเสริฐศักดิ์ เชิงชวโน รองผู้ว่าการพัฒนาโรงไฟฟ้าและพลังงานหมุนเวียน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นตัวแทน กฟผ. ส่งมอบใบรันายประเสริฐศักดิ์ เชิงชวโน รองผู้ว่าการพัฒนาโรงไฟฟ้าและพลังงานหมุนเวียน (รวพ.) และนางเพียงฤทัย ศิวารัตน์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย และรองประธานฝ่ายปฏิบัติการโรงงานซีเกทโคราช บริษัท ซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมลงนามสัญญาซื้อขายใบรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Certificate: REC) …

กฟผ. เดินหน้าเต็มรูปแบบส่งเสริมตลาดธุรกิจพลังงานสีเขียว ส่งมอบ REC ให้กับ บริษัท Novo Nordisk Thailand หวังลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

กฟผ. ส่งมอบใบรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Certificate) หรือ REC ให้กับบริษัท โนโว นอร์ดิสค์ ฟาร์มา (ประเทศไทย) จำกัด ส่งเสริมตลาดธุรกิจพลังงานสีเขียว หวังช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก กระตุ้นการใช้พลังงานหมุนเวียนที่มีความยั่งยืน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

นายประเสริฐศักดิ์ เชิงชวโน รองผู้ว่าการพัฒนาโรงไฟฟ้าและพลังงานหมุนเวียน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นตัวแทน กฟผ. ส่งมอบใบรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Certificate: REC) ให้กับ Mr.John Christopher Dawberรองประธานและผู้จัดการทั่วไป บริษัท โนโว นอร์ดิสค์ ฟาร์มา (ประเทศไทย) จำกัด เมื่อวันที่ …

โซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดเขื่อนสิรินธร

โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนสิรินธร หรือ Hydro-floating Solar Hybrid เป็นโครงการนำร่องแห่งแรกของ กฟผ. ที่ได้นำพลังงานหมุนเวียนสองประเภทจาก “พลังงานแสงอาทิตย์” และ “พลังน้ำ” มาผลิตไฟฟ้าแบบผสมผสาน หรือเรียกว่า ระบบไฮบริด เพื่อลดข้อจำกัดของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่การผลิตไฟฟ้าจะขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ โดยพัฒนาระบบควบคุมและบริหารจัดการพลังงาน (Energy Management System: EMS) เพื่อบริหารจัดการการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนทั้งสองชนิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้สามารถผลิตไฟฟ้าได้ต่อเนื่องยาวนาน และเสริมความมั่นคงทางพลังงานไฟฟ้าของประเทศ

ทั้งนี้ โครงการฯ มีขอบเขตพื้นที่ประมาณ 760 ไร่ คิดเป็นสัดส่วนพื้นที่ผิวน้ำไม่ถึงร้อยละ 1 ของพื้นที่อ่างเก็บน้ำทั้งหมด โดยติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนทุ่นลอยน้ำและอุปกรณ์ต่างๆ บนพื้นที่ผิวน้ำประมาณ 450 ไร่ ซึ่งแผงโซลาร์เซลล์เป็นชนิดดับเบิลกลาส (Double Glass) สามารถทนต่อความชื้นสูงได้ดี ทำให้ไม่มีสิ่งปนเปื้อนลงสู่แหล่งน้ำ …

โรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนแม่กลอง

โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนแม่กลอง เป็นโครงการความร่วมมือด้านการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนระหว่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กับกรมชลประทาน ในการใช้ประโยชน์จากน้ำในเขื่อนของกรมชลประทานให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามยุทธศาสตร์ด้านพลังงานของรัฐบาลประกาศ ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2546 ที่กำหนดให้มุ่งเน้นส่งเสริมและพัฒนาการใช้พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) เพื่อลดการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ

ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2546 คณะรัฐมนตรีได้ประกาศนโยบายส่งเสริมให้มีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กบริเวณท้ายเขื่อนของกรมชลประทาน เพื่อผลิตไฟฟ้าจากการปล่อยน้ำตามปกติของกรมชลประทานอยู่แล้ว โดยมอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นผู้รับผิดชอบ โดยให้กระทรวงพลังงาน เป็นผู้สนับสนุนด้านเทคนิคการวางแผนและการพัฒนา ในการนี้กรมชลประทานและการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ซึ่งได้รับมอบหมายจาก กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และกระทรวงพลังงานตามลำดับ ได้ร่วมกันพิจารณาดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามยุทธศาสตร์ดังกล่าว โดย กฟผ. แสดงเจตจำนง จะพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กท้ายเขื่อนชลประทาน 6 แห่ง ซึ่งมีกำลังการผลิตรวมกัน 78.7 เมกะวัตต์ กฟผ. ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี ให้ดำเนินการก่อสร้างโครงการดังกล่าว เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2549 …