โครงการ REC

โรงไฟฟ้ากังหันลมผลิตไฟฟ้าลำตะคองชลวัฒนา ชุดที่ 2

โรงไฟฟ้ากังหันลมผลิตไฟฟ้าลำตะคองชลวัฒนา ชุดที่ 2

ตั้งอยู่บริเวณสันเขาบ้านเขายายเที่ยง ตำบลคลองไผ่ อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา และพื้นที่บริเวณตำบลหนองสาหร่าย อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา

พลังลม
24 MW
0.06 ล้าน REC ต่อปี

โรงไฟฟ้าท้ายเขื่อนเจ้าพระยา

โรงไฟฟ้าท้ายเขื่อนเจ้าพระยา

ลักษณะเป็นเขื่อนคอนกรีตเสริมเหล็ก ยาว 237.50 เมตร สูง 16.5 เมตร ติดตั้งบานประตูเหล็กรูปโค้งสูง 7.50 เมตร มีช่องระบายให้น้ำไหลผ่านขนาดกว้าง 12.50 เมตร จำนวน 16 ช่อง ประตูน้ำสำหรับเรือสัญจรติดกับเขื่อนด้านขวากว้าง 14 เมตร ยาว 170.50 เมตร เรือขนาดใหญ่สามารถผ่านเข้าออกได้ บนสันเขื่อนมีสะพานกว้าง 7 เมตร รับรถน้ำหนักบรรทุกไม่เกิน 20 ตัน และมีทางระบายน้ำล้นฉุกเฉินสร้างบนคันกั้นน้ำซ้ายมือเหนือเขื่อนเจ้าพระยา น้ำเมื่อเกิดอุทกภัย

พลังน้ำ
6 MW
0.04 ล้าน REC ต่อปี

โรงไฟฟ้าท้ายเขื่อนแควน้อยบำรุง

โรงไฟฟ้าท้ายเขื่อนแควน้อยบำรุง

เป็นเขื่อนอเนกประสงค์ขนาดใหญ่ของกรมชลประทาน สร้างกั้นแม่น้ำแคว ประกอบด้วย 3 เขื่อนติดต่อกัน คือเขื่อนแควน้อย เขื่อนสันตะเคียน เขื่อนปิดช่องเขาขาด สถานที่น่าสนใจภายในเขื่อนฯ – ผานาคราช สามารถมองเห็นทิวทัศน์ของตัวเขื่อน – หาดเอราวัณ เป็นหาดพักผ่อนเล่นน้ำ – สันมายะ เนินสันเตี้ย ๆ มองเห็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่เป็นบริเวณกว้าง – รูปหล่อพระอินทร์นาคปรก 9 เศียรทรงช้างเอราวัณ

พลังน้ำ
30 MW
0.09 ล้าน REC ต่อปี

โรงไฟฟ้าท้ายเขื่อนนเรศวร

โรงไฟฟ้าท้ายเขื่อนนเรศวร

มีลักษณะเป็นเขื่อนทดน้ำ (Diversion Dam) โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก สูง 16 เมตร ระดับสันเขื่อน 52.50 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ความยาว 156 เมตร พร้อมอาคารระบายน้ำมีประตูควบคุม จำนวน 5 บาน อาคารโรงไฟฟ้าที่ กฟผ. ดำเนินการอยู่ฝั่งขวาของ Closure Dam เขื่อนนเรศวร

พลังน้ำ
8 MW
0.04 ล้าน REC ต่อปี

โรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนภูมิพล

โรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนภูมิพล

“เขื่อนภูมิพล” เป็นเขื่อนอเนกประสงค์แห่งแรกของประเทศไทย และเป็นเขื่อนแรกในประวัติศาสตร์ไทยอันเป็นจุดกำเนิดของการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบและยั่งยืน โดยถือกำเนิดขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐบาลในขณะนั้นมีแนวคิดที่จะสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่

พลังน้ำ
779.2 MW
0.5 ล้าน REC ต่อปี

โซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดเขื่อนสิรินธร

โซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดเขื่อนสิรินธร

โครงการนำร่องแห่งแรกของ กฟผ. ที่ได้นำพลังงานหมุนเวียนสองประเภทจาก “พลังงานแสงอาทิตย์” และ “พลังน้ำ” มาผลิตไฟฟ้าแบบผสมผสาน หรือเรียกว่า ระบบไฮบริด

พลังแสงอาทิตย์
45 MW
0.07 ล้าน REC ต่อปี

โรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนแม่กลอง

โรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนแม่กลอง

ความร่วมมือด้านการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนระหว่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กับกรมชลประทาน ในการใช้ประโยชน์จากน้ำในเขื่อนของกรมชลประทานให้เกิดประโยชน์สูงสุด

พลังน้ำ
12 MW
0.07 ล้าน REC ต่อปี

เขื่อนศรีนครินทร์

เขื่อนศรีนครินทร์

เขื่อนอเนกประสงค์แห่งแรกของโครงการพัฒนาลุ่มน้ำแม่กลองสร้างขึ้น บนแม่น้ำแควใหญ่ บริเวณบ้านเจ้าเณร ตำบลท่ากระดาน อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี

พลังน้ำ
720 MW
1.25 ล้าน REC ต่อปี