โรงไฟฟ้ากังหันลมผลิตไฟฟ้าลำตะคองชลวัฒนา ชุดที่ 2

ตั้งอยู่บริเวณสันเขาบ้านเขายายเที่ยงเหนือ ตำบลคลองไผ่ อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา และพื้นที่ป่าบริเวณตำบลหนองสาหร่าย อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา กฟผ. ได้ดำเนินการติดตั้งกังหันลมผลิตไฟฟ้าจำนวน 12 ชุด กำลังผลิตรวมทั้งหมด 24,000 กิโลวัตต์ เชื่อมโยงกับระบบสายส่ง 115 กิโลโวลท์ของ กฟผ.
ชนิดของกังหัน เป็นแบบแกนนอน ปรับใบพัดได้ และใช้กันโดยทั่วไปในประเทศแถบยุโรป และอเมริกา สามารถปรับองศาของใบพัดเพื่อสามารถกินลมได้ในระดับความเร็ว ลมต่ำ และสามารถลู่ลมได้ในระดับความเร็วลมสูงโดยมีระบบเบรกอัตโนมัติ อายุการใช้งานไม่ต่ำกว่า 25 ปี ความสูงของหอกังหันลม 80 เมตร

โรงไฟฟ้าท้ายเขื่อนเจ้าพระยา

ลักษณะเขื่อน

อาคารโรงไฟฟ้า

ประเภทโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก
ความยาว40.5 เมตร
ความกว้าง24 เมตร
สูงจากพื้นดิน37.4 เมตร

เครื่องกำเนิดไฟฟ้า

กำลังผลิตไฟฟ้าต่อเครื่อง6 เมกะวัตต์
จำนวน2 เครื่อง
ระบบส่งไฟฟ้า22 กิโลโวลต์
พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยรายปี61.75 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง

โรงไฟฟ้าท้ายเขื่อนแควน้อยบำรุง

ลักษณะเขื่อน

อาคารโรงไฟฟ้า

ประเภทโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก
ความยาว30.5 เมตร
ความกว้าง33.4 เมตร
ความสูง14.2 เมตร

เครื่องกำเนิดไฟฟ้า

กำลังผลิตติดตั้ง30 เมกะวัตต์
กำลังผลิตติดตั้งต่อเครื่อง15 เมกะวัตต์
จำนวน2 เครื่อง
ระบบส่งไฟฟ้า22 กิโลโวลต์
พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยรายปี146.6 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง

โรงไฟฟ้าท้ายเขื่อนนเรศวร

ลักษณะเขื่อน

อาคารโรงไฟฟ้า

ประเภทโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก
ความยาว38 เมตร
ความกว้าง19 เมตร
สูงจากพื้นดิน31 เมตร

เครื่องกำเนิดไฟฟ้า

กำลังผลิตติดตั้งต่อเครื่อง8 เมกะวัตต์
จำนวน1 เครื่อง
ระบบส่งไฟฟ้า22 กิโลโวลต์
พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยรายปี43.03 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง

โรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนภูมิพล

“เขื่อนภูมิพล” เป็นเขื่อนอเนกประสงค์แห่งแรกของประเทศไทย และเป็นเขื่อนแรกในประวัติศาสตร์ไทยอันเป็นจุดกำเนิดของการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบและยั่งยืน โดยถือกำเนิดขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐบาลในขณะนั้นมีแนวคิดที่จะสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ โดยเฉพาะโรงไฟฟ้าพลังน้ำ ซึ่งสามารถนำไฟฟ้าเข้าสู่ระบบได้อย่างรวดเร็ว จึงมีการจัดตั้ง “คณะกรรมการพิจารณาสร้างโรงไฟฟ้าทั่วราชอาณาจักร” เพื่อสำรวจพื้นที่สร้างโรงไฟฟ้าทั่วประเทศ  ซึ่งพบว่าในลำน้ำปิง บริเวณหุบเขาย่านรีหรือยันฮี อ.สามเงา จ.ตาก มีความเหมาะสมต่อการสร้างเขื่อนเป็นอย่างยิ่ง จึงนำมาสู่การสำรวจ “เขื่อนยันฮี” ในปี พ.ศ. 2496 และเริ่มสร้างในปี พ.ศ. 2500 – 2507 และในปีเดียวกันนี้เอง ก็มีการตั้ง “การไฟฟ้ายันฮี” (กฟย.) เพื่อรับผิดชอบการสร้างเขื่อน และผลิตไฟฟ้าให้กับภาคกลางและภาคเหนือ

จากการติดตั้งระบบสูบกลับในเครื่องที่ 8 ของเขื่อนภูมิพล ส่งผลให้ต้องสร้างเขื่อนแม่ปิงตอนล่าง ซึ่งเป็นเขื่อนขนาดเล็ก สร้างปิดกั้นลำน้ำปิง อยู่ห่างจากเขื่อนภูมิพลลงมาทางท้ายน้ำ 5 …

โซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดเขื่อนสิรินธร

โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนสิรินธร หรือ Hydro-floating Solar Hybrid เป็นโครงการนำร่องแห่งแรกของ กฟผ. ที่ได้นำพลังงานหมุนเวียนสองประเภทจาก “พลังงานแสงอาทิตย์” และ “พลังน้ำ” มาผลิตไฟฟ้าแบบผสมผสาน หรือเรียกว่า ระบบไฮบริด เพื่อลดข้อจำกัดของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่การผลิตไฟฟ้าจะขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ โดยพัฒนาระบบควบคุมและบริหารจัดการพลังงาน (Energy Management System: EMS) เพื่อบริหารจัดการการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนทั้งสองชนิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้สามารถผลิตไฟฟ้าได้ต่อเนื่องยาวนาน และเสริมความมั่นคงทางพลังงานไฟฟ้าของประเทศ

ทั้งนี้ โครงการฯ มีขอบเขตพื้นที่ประมาณ 760 ไร่ คิดเป็นสัดส่วนพื้นที่ผิวน้ำไม่ถึงร้อยละ 1 ของพื้นที่อ่างเก็บน้ำทั้งหมด โดยติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนทุ่นลอยน้ำและอุปกรณ์ต่างๆ บนพื้นที่ผิวน้ำประมาณ 450 ไร่ ซึ่งแผงโซลาร์เซลล์เป็นชนิดดับเบิลกลาส (Double Glass) สามารถทนต่อความชื้นสูงได้ดี ทำให้ไม่มีสิ่งปนเปื้อนลงสู่แหล่งน้ำ …

โรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนแม่กลอง

โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนแม่กลอง เป็นโครงการความร่วมมือด้านการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนระหว่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กับกรมชลประทาน ในการใช้ประโยชน์จากน้ำในเขื่อนของกรมชลประทานให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามยุทธศาสตร์ด้านพลังงานของรัฐบาลประกาศ ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2546 ที่กำหนดให้มุ่งเน้นส่งเสริมและพัฒนาการใช้พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) เพื่อลดการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ

ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2546 คณะรัฐมนตรีได้ประกาศนโยบายส่งเสริมให้มีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กบริเวณท้ายเขื่อนของกรมชลประทาน เพื่อผลิตไฟฟ้าจากการปล่อยน้ำตามปกติของกรมชลประทานอยู่แล้ว โดยมอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นผู้รับผิดชอบ โดยให้กระทรวงพลังงาน เป็นผู้สนับสนุนด้านเทคนิคการวางแผนและการพัฒนา ในการนี้กรมชลประทานและการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ซึ่งได้รับมอบหมายจาก กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และกระทรวงพลังงานตามลำดับ ได้ร่วมกันพิจารณาดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามยุทธศาสตร์ดังกล่าว โดย กฟผ. แสดงเจตจำนง จะพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กท้ายเขื่อนชลประทาน 6 แห่ง ซึ่งมีกำลังการผลิตรวมกัน 78.7 เมกะวัตต์ กฟผ. ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี ให้ดำเนินการก่อสร้างโครงการดังกล่าว เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2549 …

เขื่อนศรีนครินทร์

เขื่อนศรีนครินทร์ เป็นเขื่อนอเนกประสงค์แห่งแรกของโครงการพัฒนาลุ่มน้ำแม่กลองสร้างขึ้น บนแม่น้ำแควใหญ่ บริเวณบ้านเจ้าเณร ตำบลท่ากระดาน อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี นับเป็นเขื่อนแห่งที่ 8 ในจำนวน 17 แห่ง ที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) สร้างขึ้นเพื่อ อำนวยประโยชน์ทางด้านต่างๆ ตลอดจนช่วยพัฒนาชีวิต ความเป็นอยู่ของราษฎร และส่งเสริมให้เป็น แหล่งท่องเที่ยวที่สวยงาม